วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

การเลี้ยงหมูหลุม(เศรษฐกิจพอเพียง)


“หมูหลุม” เป็นภาษาชาวบ้านที่เลี้ยงหมูแบบขุดหลุมลึก โดยใช้วัสดุรองพื้น  ดั้งเดิมมาจากประเทศเกาหลีและญี่ปุ่น มีแนวคิดตามหลักการของ “เกษตรกรรมธรรมชาติ” ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของระบบเกษตรกรรมยั่งยืน เป็นการเกษตรที่ไม่เพียงแต่คำนึงถึงผลผลิตจากการเกษตรเท่านั้น แต่มีปรัชญาแนวคิดอยู่เบื้องหลัง เป็นการพัฒนารูปแบบการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ความเป็นองค์รวมของระบบนิเวศน์เกษตรในฟาร์ม วงจรชีวภาพห่วงโซ่อาหาร ดิน พืช สัตว์ จุลินทรีย์ พลังธรรมชาติหมุนเวียนจากพลังงานแสงแดด น้ำและดิน นำมาปลูกพืช เลี้ยงสัตว์กินพืช นำปุ๋ยมูลสัตว์มาเพิ่มความอุดมสมบรูณ์ให้กับดิน รวมถึงด้านเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่น และการพึ่งพาตนเองในด้านการผลิตและการบริโภคขนาดเล็กและขนาดกลาง ที่เหมาะสมกับทรัพยากร ภูมิปัญญาในท้องถิ่น และวัฒนธรรมที่มีในชุมชน
โดยมีเป้าหมายเชิงนโยบายอยู่ที่การพัฒนาชนบท การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน การอยู่ดีกินดีของคนชนบท และสุขภาพของประชากร  นำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจนในที่สุด
ขั้นตอนและวิธีการเลี้ยง
1.การสร้างโรงเรือน เลือกพื้นที่น้ำไม่ท่วมขัง  อากาศถ่ายเทสะดวก ปลูกสร้างด้วยวัสดุในท้องถิ่น โครงไม้ไผ่ หลังคาหญ้าคา  ขนาด กว้าง x ยาว x สูง = 4 x5x1.8  เมตร เลี้ยงคอกละ 20 ตัว หลังคาควรมีแสงรอดผ่าน หรือมีพื้นที่รับแสงได้ 1/3 ของพื้นที่คอกตลอดทั้งวัน จะทำให้มีการฆ่าเชื้อด้วยแสงอาทิตย์ทุกวัน
2.การเตรียมพื้นคอก 
2.1ขุดหลุมลึก90ซม.ความกว้างยาวขึ้นอยู่กับจำนวนหมูที่จะเลี้ยงโดยมีพื้นที่ต่อตัว 1- 1.5เมตรต่อตัว
2.2ก่ออิฐให้รอบทั้ง 4 ด้าน และให้สูงกว่าปากหลุมประมาณ 30 เซนติเมตร ไม่ต้องเทพื้น
2.3วัสดุเตรียมพื้นคอก โดยจัดทำเป็น 3 ชั้นๆละ 30 ซม. โดยใช้วัตถุดิบดังนี้
         - แกลบดิบ 4,300 กิโลกรัม
         - มูลโคหรือกระบือ 320 กิโลกรัม
         - รำอ่อน 185 กิโลกรัม
         - น้ำหมักจุลินทรีย์จากพืชสีเขียว1 ลิตร ซึ่งจะได้แบคทีเรียกลุ่มที่ผลิตกรดแลคติค



<iframe width="560" height="349" src="http://www.youtube.com/embed/gl8TM-PRBSI" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น