วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

อาหารและการจัดการอาหารโคนม

อาหารและการให้อาหารโคนม  เป็นสัตว์สี่กระเพาะหรือที่เรียกว่า สัตว์เคี้ยวเอื้อง ซึ่งอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์ประเภทนี้จะมี 2 ชนิดคือ อาหารหยาบ เช่น หญ้า ถั่ว อาหารสัตว์ ฟางข้าว และอาหารข้น เช่น อาหารผสม ในการให้อาหารแก่ โคนม อาหารทั้ง 2 ชนิด จะมีความสำคัญเท่า ๆ กัน และต้องมีความสัมพันธ์กัน เพื่อที่จะทำให้โคนม สามารถให้น้ำนมได้สูงสุดตามความสามารถของโคแต่ละตัวที่จะแสดงออก โคนมในปัจจุบันได้รับการ ปรับปรุงพันธุ์จนมีความสามารถในการให้น้ำนมได้สูงกว่าแต่ก่อน ลำพังการให้อาหารหยาบเพียงอย่าง เดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารหยาบในเขตร้อนอย่างประเทศไทย ซึ่งมีคุณค่าทางอาหารต่ำ มีโภชนะ ไม่เพียงพอแก่ความต้องการของแม่โคนม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องการให้อาหารข้นเสริมจะเห็นได้ว่าอาหาร ข้นจะเข้าไปมีบทบาทต่อการผลิตน้ำนมมากขึ้น นอกจากนั้นบทบาทที่สำคัญอีกอย่างก็คือ จะเป็นตัวกำหนด ผลตอบแทนที่จะได้รับจากการเลี้ยงโคนม ทั้งนี้เพราะค่าใช้จ่ายในด้านอาหารจะเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงที่สุดคือ ประมาณร้อยละ 70 ของต้นทุนทั้งหมด ซึ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมของประเทศกำลังประสบอยู่ นั่นคือต้นทุน การผลิตน้ำนมดิบที่สูงขึ้น ฉะนั้นการให้อาหารแก่โคนมอย่างเหมาะสมนอกจากจะสามารถช่วยแม่โคนม สามารถให้น้ำนมได้สูงขึ้นแล้ว ยังสามารถลดต้นทุนการผลิตได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามการให้อาหารข้น แก่โคนมก็มีข้อที่จะต้องพิจารณาอยู่มาก ซึ่งจากการสำรวจพบว่าเกษตรกรรายย่อยส่วนใหญ่ยังขาด ความรู้เข้าใจในการใช้อาหารข้น ทั้งเรื่องเกี่ยวกับว่า อาหารข้นควรจะมีคุณภาพอย่างไรประกอบด้วย อะไรบ้าง และจะให้โคนมกินประมาณเท่าไร ซึ่งคำถามต่าง ๆ เหล่านี้มักจะเกิดขึ้นอยู่เสมอ จึงจัดทำ เอกสารฉบับนี้ขึ้นมาเพื่อให้เกษตรกรได้ทำความเข้าใจอย่างง่าย ๆ ในการให้อาหารแก่โคนม ก่อนที่ จะกล่าวถึงในเรื่องของการให้อาหาร เกษตรกรควรที่จะทำความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ ที่จะไปมีส่วน เกี่ยวข้องโดยตรง อาทิเช่น



ความต้องการสารอาหารของแม่โคนม
แม่โคนมแต่ละตัวมีความต้องการสารอาหารได้แก่ โปรตีน พลังงาน วิตามิน แร่ธาตุ ฯลฯ โดยมีวัตถุ ประสงค์เพื่อที่จะ (1) บำรุงร่างกาย (2) เจริญเติบโต (3) ผลิตน้ำนม (4) เพื่อการเจริญเติบโตของลูกใน ท้องแม่โคจะนำสารอาหารที่ให้กินไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ตามลำดับทำให้แม่โคละตัวซึ่งมีน้ำหนักตัว ต่างกันและให้นมจำนวนไม่เท่ากัน มีความต้องการสารอาหารแตกต่างกันไปนอกจากนั้นในแม่โคตัวเดียวกัน ก็ยังมีความต้องการสารอาหารในแต่ละช่วงแตกต่างกันไปอีก ซึ่งจะขึ้นอยู่กับ
              1.ช่วงระยะการให้น้ำนม แม่โคนมที่อยู่ในระยะใกล้คลอดหรือหลังคลอดใหม่ ๆ แม่โคนมที่อยู่ระหว่าง การให้น้ำนมสูงสุด (2 เดือนแรกของการให้นม) การให้นมช่วงกลาง การให้นมในช่วงปลาย และช่วงหยุด การให้นม จะมีความต้องการสารอาหารในแต่ละระยะการให้นมที่แตกต่างกัน ทั้งนี้เพราะปริมาณน้ำนมที่ แม่โคผลิตได้ในแต่ละช่วงจะแตกต่างกัน
              2.สภาพของร่างกาย โคนมที่สามารถให้น้ำนมได้เต็มที่ สุขภาพของแม่โคจะต้องพร้อม คือ ไม่ควรจะอ้วน หรือผอมจนเกินไป จึงมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับสารอาหารที่มากขึ้น ทั้งนี้เพราะโคจะต้องใช้สารอาหาร ในการบำรุงร่างกาย และเจริญเติบโตก่อนจึงจะนำไปใช้ในการสร้างน้ำนม
             3. เมื่อเกษตรกรได้รู้ถึงความต้องการสารอาหารของโคแล้ว ซึ่งในที่นี้จะไม่ขอกล่าวถึงความต้องการสารอาหาร แต่ละชนิด เพราะอาจจะทำให้สับสน แต่อยากจะให้เกษตรกรได้ทราบถึงเหตุผลว่าทำไมจึงมีความจำเป็นที่ จะต้องให้อาหารต่างกันในโคแต่ละตัวหรือในโคตัวเดียวกันแต่ต่างระยะเวลา
ปริมาณการกินอาหารหยาบ
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า โคนมเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง จึงจำเป็นต้องได้รับอาหารหยาบอย่างเพียงพอ ซึ่งในจุดนี้ เกษตรกรบางส่วนไม่ค่อยได้คำนึงถึงมากนัก อย่าคิดแต่เพียงว่าถ้าให้อาหารข้นมาก ๆ โคจะได้รับสาร อาหารมาก และจะทำให้ผลผลิตน้ำนมได้มาก ตรงกันข้ามในความเป็นจริงแล้วโคที่ได้รับอาหารข้นมากเกินไป กลับทำให้ผลผลิตน้ำนมลดลงด้วยซ้ำ เนื่องจากการที่โคได้รับอาหารหยาบน้อยเกินไป อาจจะทำให้เกิดอาการ ผิดปกติในระบบการย่อยอาหาร คือ เกิดความเป็นกรดในกระเพาะผ้าขี้ริ้วมากจนโคไม่ยอมกินอาหาร ทั้งนี้ เพราะอาหารหยาบมีเยื่อใยสูงจะช่วยในการเคี้ยวเอื้อง ทำให้ต่อมน้ำลายของโคหลั่งน้ำลายได้มากขึ้นและ น้ำลายนี้เองที่มีฤทธิ์เป็นด่างจะช่วยปรับสภาพภายในกระเพาะผ้าขี้ริ้วให้เหมาะสมแก่การทำงานของจุลินทรีย์ เพื่อสังเคราะห์โปรตีน และพลังงานแก่โคต่อไป เกษตรกรจึงจำเป็นที่จะต้องมีอาหารหยาบเพียงพอให้แก่โคซึ่ง ระดับของอาหารหยาบ เมื่อคิดเป็นน้ำหนักแห้งที่แม่โคควรจะได้รับต่อวันไม่ควรต่ำกว่า 1.4% ของ นน. ตัว ตัวอย่างเช่น แม่โคนมที่มีน้ำหนักประมาณ 400 กก. ควรจะได้รับอาหารหยาบแห้งตามที่ได้กำหนดไว้ดังต่อไปนี้ คือ แม่โคนมที่มีน้ำหนักตัว 100 กก. ต้องการอาหารหยาบ = 1.4 กก. แม่โคนมที่มีน้ำหนักตัว 400 กก. ต้องการ อาหารหยาบ =(1.4 x 400)/100 กก.<P>
แม่โคควรจะได้รับอาหารหยาบแห้ง/วัน = 5.6 กก. เมื่อนำมาคิดเทียบกับไปเป็นหญ้าสด ซึ่งทั่ว ๆ ไปมีวัตถุ แห้งประมาณ 25% ดังนั้น โคควรจะได้รับหญ้าสดในปริมาณวันละ = (5.6 x 100)/100 = 22.4 กิโลกรัม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น