วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

การเป็นสัดคืออะไร


การเป็นสัดคือ การที่สัตว์ตัวเมียยอมให้ผสมพร้อม ๆ กันจะมีการตกไข่เกิดขึ้น (โคนมลูกผสมส่วนมากจะมี อายุเข้าสู่วัยหนุ่มสาวประมาณ 1-2 ปีโดยเฉลี่ย) โคเป็นสัดก็หมายถึงโคที่เริ่มจะเป็นสาวแล้วพร้อมที่จะได้ รับการผสมโดยวิธีใดวิธีหนึ่งซึ่งอาจเป็นการผสมเทียม หรือผสมแบบธรรมชาติก็ได้ แล้วแต่ความสะดวกหรือ ความต้องการของผู้เป็นเจ้าของ การเป็นสัดของโคแต่ละรอบจะห่างกันประมาณ 21 วัน และในแต่ละครั้ง ของการเป็นสัดแล้วประมาณ 14 ชั่วโมง ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับทำการผสมคือระยะก่อนที่ไข่ จะตกเล็กน้อย โดยทั่ว ๆ ไปเจ้าของสัตว์อาจจะพบหรือสังเกตเห็นสัดของตนเป็นสัดในเวลาเย็นหรือตอน กลางคืนหรืออาจจะพบเมื่อใกล้ถึงตอนปลายของการเป็นสัดแล้ว ดังนั้นเพื่อให้ได้ผลในทางปฏิบัติอาจแนะนำ พอเป็นแนวทางในการปฏิบัติคือ ถ้าเห็นโคเป็นสัดตอนเข้าก็ควรจะผสมอย่างช้าตอนบ่ายวันเดียวกัน และถ้า เห็นโคเป็นสัดตอนบ่ายหรือเย็นก็ควรจะผสมอย่างช้าเช้าวันรุ่งขึ้น

เจ้าของสัตว์อาจสังเกตหรือพบเห็นอาการของโคที่เป็นสัดจากอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรืออาจแสดงออกมา พร้อม ๆ กันให้เห็นได้ดังนี้    
          1.ส่งเสียงร้องที่ผิดปกติ
2.เครื่องเพศบวมแดง
3.ปัสสาวะถี่
4.มีน้ำเมือกใสและเหนียวไหลออกมาจากช่องคลอด หรือเลอะบริเวณก้นทั้งสองข้าง
5.ไม่สนใจอาหารหรือกินอาหารน้อยทั้งอาหารข้นและหญ้า
6.ถ้าเป็นแม่โคที่กำลังให้นมจะพบว่าน้ำนมลดลง
7.ขึ้นขี่ตัวอื่นหรือยอมให้ตัวอื่นขี่
8.สังเกตที่ดวงตา จะเห็นม่านตาเบิกกว้างบ่อยครั้งกว่าปกติส่อให้เห็นการตื่นตัวและตื่นเต้นง่าย


การผสมเทียม หมายถึงการรีดน้ำเชื้อจากสัตว์พ่อพันธุ์แล้วนำไปฉีดเข้าในอวัยวะของสัตว์ตัวเมียนั้น แสดงอาการของการเป็นสัดแล้วทำให้เกิดการตั้งท้องแล้วคลอดออกมาตามปกติ

ประโยชน์ของการผสมเทียม
1.ทำให้ประหยัดพ่อพันธุ์เมื่อรีดเก็บน้ำเชื้อจากสัตว์พ่อพันธุ์ได้แต่ละครั้ง สามารถนำมาละลายน้ำเชื้อ แล้วแบ่งใช้ผสมกับสัตว์ตัวเมียได้จำนวนมาก
2.สามารถผสมพันธุ์สัตว์ที่มีขนาดใหญ่หรือเล็กต่างกันได้โดยไม่มีอันตรายจากการขึ้นทับของพ่อพันธุ์
3.ไม่ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงพ่อพันธุ์
4.ตัดปัญหาในเรื่องขนส่งโคไปผสม เพราะสามารถนำน้ำเชื้อไปผสมได้ไกล ๆ
5.บังคับสัตว์ให้ตกลูกได้ตามดูกาล คือเลือกระยะเวลาผสมให้ตกลูกตามระยะที่ต้องการ
6.แก้ปัญหาการผสมติดยาก เช่น กรณีปากมดลูกกดหรือตีบช่องคลอดผิดปกติ เป็นต้น
7.ป้องกันโรคติดต่อและโรคระบาด เพราะใช้น้ำเชื้อพ่อพันธุ์ปราศจากโรคและเครื่องมือใช้ในการผสม ได้รับการฆ่าเชื้อโรคเป็นอย่างดีและใช้ผสมเฉพาะตัว
8.ย่นระยะเวลาการพิสูจน์พ่อพันธุ์ เพราะผสมได้จำนวนมากในระยะสั้น
ระยะเวลาที่เหมาะสมในการผสมเทียม
โคตัวเมียที่แสดงอาการเป็นสัดดังกล่าวควรจะได้รับการผสมเทียมในระยะเวลาช่วงกลางของการเป็นสัด หรือใกล้ระยะที่จะหมดการเป็นสัด (อาจจะหมดการเป็นสัดไปแล้วประมาณ 6 ชั่วโมง ก็ได้หรือเมื่อโคเมีย ตัวนั้นยืนนิ่งให้ตัวอื่นขึ้นขี่ซึ่งใช้เป็นหลักในการผสมพันธุ์) โดยทั่ว ๆ ไป โคเมียจะมีระยะเป็นสัดประมาณ 18 ช.ม. แล้วต่อมาอีก 14 ช.ม. จึงจะมีไข่ตกเพื่อรอรับการผสมพันธุ์กับน้ำเชื้อพ่อโค จึงเห็นสมควรที่ต้อง เลือกเวลาที่เหมาะสม ในการดำเนินการเรื่องของรับบริการผสมเทียมดังมีหลักการที่จะใช้ในการปฏิบัติ
งานผสมเทียมคือ
1. เมื่อโคเมียตัวใดแสดงอาการเป็นสัดในตอนรุ่งเช้าของวันใดวันหนึ่งควรที่จะได้รับการผสมเทียมในวัน เวลาเดียวกัน (ก่อน 16.30 น.) ฉะนั้นพอรุ่งเช้าของแต่ละวันเจ้าของสัตว์ควรจะได้ไปแจ้งและบอกเวลา (ประมาณ) ที่ท่านได้เห็นสัตว์ของท่านแสดงอาการเป็นสัด
2. ถ้าโคตัวเมียใดแสดงอาการเป็นสัดในตอนบ่ายของวันใดวันหนึ่งควรที่จะได้รับการผสมเทียมตอนเช้า หรือก่อนเที่ยงของวันรุ่งขึ้น ฉะนั้นเจ้าของสัตว์เมื่อพบว่าสัตว์แสดงอาการเป็นสัดในตอนบ่ายหรือตอนเย็น ท่านควรจะไปแจ้งและบอกเวลาของการเป็นสัด (ประมาณ) ในรุ่งเช้าของวันต่อไปก็ได้

ถ้าท่านได้ศึกษาและรู้จักสังเกตการแสดงอาการเป็นสัดว่าอาการเป็นอย่างไรและหาระยะเวลาที่จะผสม เทียมให้พอเหมาะแล้ว จะเป็นการช่วยแก้ปัญหาเรื่องการผสมเทียมติดยากหรือผสมไม่ค่อยติดในโคตัวเมีย ของท่านได้ทางหนึ่ง และจะทำให้เป็นประโยชน์ในด้านการเพิ่มจำนวนและปริมาณน้ำนมในกิจการโคนม ของท่านยิ่งขึ้น จึงเห็นสมควรที่จะเรียกช่วงเวลาอันสำคัญนี้ว่า "นาทีทองในโคนมตัวเมีย"

 
เมื่อโคนางได้รับการผสมไปแล้วประมาณ 21 วัน หากโคไม่กลับมาแสดงอาการเป็นสัดอีกก็อาจคาดได้ว่า ผสมติดหรือโคตัวนั้นเริ่มตั้งท้องแล้วหรือเพื่อให้รู้แน่ชัดยิ่งขึ้นภายหลังจากการผสมโคนางแล้ว 50 วันขึ้นไป อาจติดต่อสัตวแพทย์ หรือบุคคลผู้มีความชำนาญในการตรวจท้องแม่โค (โดยวิธีล้วงเข้าไปคลำลูกโคทางทวาร ของแม่โค) มาทำการตรวจท้องแม่โคก็จะทราบได้แน่ชัดยิ่งขึ้น
ข้อสังเกต ในกรณีโคสาวจะสังเกตุได้จากการเจริญเติบโตที่เร็วขึ้น กินจุขึ้นความจุของลำตัวโดยเฉพาะส่วนท้อง ซี่โครง จะกางออกกว้างขึ้น ขนเป็นมันและไม่เป็นสัดอีก
โดยทั่ว ๆ ไปแม่โคจะตั้งท้องประมาณ 283 วัน หรือประมาณ 9 เดือนเศษ ในช่วงนี้แม่โคควรจะได้รับการ เอาใจใส่ดูแลเรื่องความเป็นอยู่และอาหารเป็นพิเศษ เพราะลูกในท้องเจริญขึ้นเรื่อย ๆ และเป็นไปอย่าง รวดเร็ว ในระยะก่อนคลอดประมาณ 45-80 วัน ควรเพิ่มอาหารผสมให้แก่แม่โคท้อง เพื่อแม่โคจะได้นำไป เสริมสร้างร่างกายส่วนที่ลึกหรอและนำไปเลี้ยงลูก หรือนำไปสร้างความเจริญเติบโตสำหรับอวัยวะบางอย่าง ที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์มากที่สุดและเพื่อไม่ให้แม่โคซูบผอม สำหรับแม่โคที่กำลัง ให้นม เมื่อตั้งท้องลูกตัวต่อไป ควรจะหยุดรีดนมก่อนคลอดประมาณ 45-60 วัน สำหรับแม่โคท้องแรกหรือ ท้องสาวหรือแม่โคที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ (อายุไม่ถึง 5 ปี) แม้จะให้ลูกมาแล้ว 1 หรือ 2 ตัวก็ตาม ก่อน คลอดลูกตัวต่อไปควรจะหยุดพักการรีดนมเร็วกว่าแม่โคที่โตเต็มที่แล้วอย่างน้อยก่อนคลอดประมาณ 45-60 วัน เพื่อให้แม่โคได้มีเวลาเตรียมตัวได้พักผ่อนร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ บ้าง มิฉะนั้นแม่โคอาจจะได้รับผล กระทบกระเทือนนั่นหมายถึงผลเสียหายที่จะตามมาภายหลังได้เช่น ร่างกายจะชะงักการเติบโตเพราะ อาหารไม่พอหรือร่างกายไม่สมบูรณ์ หรือเมื่อคลอดลูกออกมาลูกโคอ่อนแอหรือมีช่วงระยะการให้นมในปีต ต่อไปสั้นลงหรือผสมติดยาก ทิ้งช่วงการเป็นสัดนานและอื่น ๆ เป็นต้น
อาการที่แม่โคแสดงออกเมื่อใกล้คลอด
เราอาจจะสังเกตอาการต่าง ๆ ได้ดังนี้
1.เต้านมขยายใหญ่ขึ้น
2.อวัยวะเพศขยายตัวใหญ่ขึ้น ยิ่งใกล้วันคลอดเข้ามา สังเกตเห็นมีน้ำเมือกไหลออกมาจากช่องคลอด
3.กระดูกเชิงกรานขยายตัวออกกว้างขึ้น โคนหางตรงกระดูกก้นกบจะบุ๋มลึกลงทั้งสองข้าง
4.ช่องท้องตรงสะวาบจะลึกหย่อนลง
5.ยกหางขึ้น-ลง เล็กน้อยเป็นครั้งคราว
6.ถ้าเป็นโคที่ปล่อยรวมฝูงจะพยายามแยกตัวออกจากฝูง
7.แม่โคที่ถูกขังจะไม่สนใจในการกินหญ้า อาหาร ยืนกระสับกระส่ายยกขาหลังแตะอยู่เรื่อย ๆ มีการ แบ่งคลอดตลอดเวลา
จะรู้ได้อย่างไรลูกโคคลอดปกติหรือไม่
ลักษณะการคลอดลูกในท่าปกติของแม่โค คือลูกโคจะเหยียดขาหน้าตรงออกมาพร้อมกันทั้งสอง (ส่วนหัวแนบชิดกับเข่า) จะเห็นเป็น 3 จุดคือ 2 กีบ ข้างหน้าและจมูก ถ้าหากมีลักษณะอื่น ๆ ผิดไปจากนี้ ให้ถือเป็นการคลอดที่ผิดปกติ อาทิ เช่นหัวพบ หรือเอาด้านหลังออกมาก่อนส่วนอื่นหรือกรณีที่ลูกโคมี ขนาดใหญ่จนไม่สามารถผ่านช่องคลอดออกมาได้ หรือกรณีอื่น ๆ เช่นนี้ควรรีบติดต่อสัตวแพทย์มาช่วย ทำการคลอด และหากลูกโคคลอดออกมาแล้วรกยังไม่ออกตามมาถ้าเกิน 12 ชั่วโมง ควรรีบตามสัตวแพทย์ มาช่วยแก้ไข เพราะถือว่ามีความผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้นกับแม่โคซึ่งต้องรีบทำการรักษา
หลังจากลูกโคคลอดออกมาแล้ว ควรรีบเช็ดทำความสะอาดตัวลูกโคให้แห้งโดยเร็ว โดยเฉพาะเมือกบริเวณ จมูกปาก และ ส่วนลำตัวพร้อมกับทำการตัดสายสะดือ ให้ห่างจากตัวโคประมาณ 1 นิ้ว แล้วทาด้วยทิงเจอร์ ไอโอดีน


การผสมเทียม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น